คุณเก้ง-จิระ มะลิกุล

เช้าวันหนึ่งเรามีนัดกับ คุณเก้งจิระ มะลิกุล ผู้กำกับและโปรดิวเซอร์ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของค่าย GDH ตลอดจนมีผลงานกำกับภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลหลายเรื่องด้วยกันอย่าง 15 ค่ำเดือน 11 มหาวิทยาลัยเหมืองแร่ รวมไปถึงเป็นโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์เรื่องแฟนฉัน รถไฟฟ้ามาหานะเธอ ลัดดาแลนด์ และล่าสุดกับเรื่องตุ๊ดซี่แอนด์เดอะเฟค ที่ได้รับความสนใจจากแฟนหนังมากมาย อีกทั้งยังทำรายได้อย่างถล่มทลาย จากความตั้งใจที่จะทำหนังเป็นอาชีพ อะไรคือแรงบันดาลใจของผู้ชายคนนี้ และหนังที่ดีในมุมมองของเขาเป็นอย่างไร เราพกชุดคำถามเพื่อมาพูดคุยกับคุณเก้งในครั้งนี้

เริ่มต้นจากเรื่องราวในรั้วเซนต์คาเบรียล

ผมชื่อจิระ มะลิกุล นะครับ (ยิ้ม) เรียนที่เซนต์คาเบรียลตั้งแต่ .1 – ..5 ตอนนั้นสมัย .ปลายที่เซนต์คาเบรียลมีแต่สายวิทยาศาสตร์ เมื่อจบ ..3 ที่เซนต์คาเบรียลจะคัดเกรดนักเรียนประมาณ 70% ถึงจะสามารถเรียนต่อได้ ผมได้ประมาณ 70 กว่านิดๆ ตอนนั้นก็คิดว่าน่าจะเรียนได้แต่พอเทอมแรกก็รู้เลยว่ายากมากทั้งวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีวะ แต่ก็พยายามเรียนมาเรื่อยๆ จนจบ ผมยังจำความรู้ในช่วงที่เรียน ..5 เทอมที่ 2 ที่ต้องเรียนหนังสือซึ่งเป็นเล่ม 4 ของทุกวิชา ถือเป็นช่วงเวลาที่ทรมานมากที่สุด และไม่เคยรู้สึกแบบนั้นอีกเลยในชีวิต เมื่อเข้าห้องเรียนเหมือนครูสอนเป็นภาษาต่างดาว เพราะเราไม่เข้าพื้นฐานตั้งแต่แรก

แม้ว่าจะเรียนไม่เข้าใจแต่เรื่องกระบวนการคิด เราสามารถนำไปปรับใช้และทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ เพราะในบทเรียนฟิสิกส์ โจทย์จะบอกว่าวัตถุชนกันเกิดอะไรขึ้น อันนี้มวลเท่าไร มีความเร็วเท่าไร กำลังเกิดอะไรขึ้น มี Gravity หรือแรงโน้มถ่วงของโลกเท่าไร แล้วจึงเกิดเป็นสูตรขึ้นมาอย่างหนึ่ง โดยรุ่นผมใช้คำว่าพิสูจน์สูตร ทุกบทจะต้องคิดแบบนี้ตลอด จึงทำให้ผมเข้าใจถึงเรื่องโครงสร้างรากฐาน สิ่งที่จะเกิดขึ้น สิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนไป และสิ่งที่กำลังจะพัฒนา ซึ่งเราสามารถนำระบบความคิดตรงนี้ไปใช้ได้กับทุกอย่างนอกเหนือจากเรื่องฟิสิกส์ได้ทั้งหมด คือการทำเข้าใจที่มาที่ไปของสิ่งต่างๆ ผมว่าตรงนี้เด็กที่เรียนสายวิทย์มาจะได้เปรียบในการศึกษาต่อ

ตั้งใจแต่แรกว่าอยากเรียนนิเทศศาสตร์

ผมโชคดีมากว่าเรื่องเดียวที่ผมเก่งตอนเรียนอยู่เซนต์คาเบรียล คือการถ่ายรูป ผมเป็นประธานชมรมถ่ายรูปตอนอยู่ ..5 สมัยนั้นกล้องถ่ายรูปยังไม่มีแบบออโตเมติก ต้องปรับหน้ากล้อง ปรับสปีดชัตเตอร์ด้วยตัวเอง ซึ่งไม่มีใครรู้หรือทำได้ เลยมีความล้ำหน้าเพื่อนคนอื่นๆ ทั้งยังเป็นสิ่งที่ผมรู้สึกว่าตัวเองเก่งและทำได้ดี เมื่อรู้ว่านิเทศศาสตร์สอนถ่ายรูปด้วย ทำให้ผมสนใจมาก เหมือนว่าได้มาเล่นๆ ก็กลายเป็นวิชาเรียนได้ด้วย จึงตัดสินใจเอนทรานซ์เข้าคณะนี้

เมื่อสีแสดไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องกีฬาสี

ผมอยู่เซนต์คาเบรียลรุ่น 48 ตอน .ปลายจะมี 2 ชั้น คือ ..4-5 ระบบกีฬาสีคือ .ปลาย ทั้งหมดเป็นสีแสด เซนต์แมรี่ ตอนที่เรียนผมรู้สึกและคิดว่าใครเป็นคนคิดระบบนี้ ไม่รู้จะแข่งไปทำไม เพราะถึงอย่างไรรุ่นน้องๆ ก็ต้องแพ้รุ่นพี่ เพราะเด็กโตก็ต้องมีการพัฒนาทางร่างกายและความคิดที่ดีกว่า ต่อให้แข่งบาสในที่มีความสูงเท่ากัน แต่ความรวดเร็วหรือการเล่นยังไงรุ่นพี่ก็เก่งกว่าอยู่ดี หรือการทำสแตนเชียร์ของสีแสด ก็คือเด็กที่กำลังจะจบไปเรียนคณะสถาปัตย์ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ทำให้ผมคิดว่าไม่มีทางที่เด็กพวกนั้นจะชนะได้เลย

แต่เมื่อเรียนจบออกมาแล้วระบบนี้ ถือเป็นระบบในชีวิตของผมเลย และผมอยากจะยกย่องคนที่คิดระบบนี้ขึ้นมา เพราะในสังคมจริงๆ นั้น เต็มไปด้วยกำแพงสูงมากมายที่เปรียบเสมือนเป็นสีแสดนั่นเอง เป็นกำแพงที่มองดูแล้วเราไม่มีทางให้ก้าวข้ามได้เลย ทว่าจริงๆ แล้วนั้นสามารถข้ามได้ ถ้าเรามีความพยายามมากพอ หรือทำสิ่งที่ยังไม่เคยมีคนทำมาก่อน ตลอดจนมีความตั้งใจ อดทน หรือถ้าโชคดีก็คืออีกฝ่ายเผลอหลับ และผมพบว่ามีวันที่เด็กๆ ชนะสีแสดได้ คือตอนที่ผมอยู่ ..5 ปีนั้นเด็กเก่งมากครับ พอพี่ปล่อยมือนิดเดียวทำให้กองเชียร์สีแสดแพ้ พวกเขาชนะเลย ที่เวลาไปเจองานยากๆ ที่ดูแล้วเราไม่มีทางจะชนะได้เลย แต่ถ้าเราพยายามมากเกินพอก็สามารถทำได้ครับ

ในช่วงที่ผมทำหนังแฟนฉัน ถือเป็นหนังนอกสายตาที่มีแต่นักแสดงเด็กทั้งหมด ไม่มีดาราใหญ่ ในบ้านเราตอนนั้นหนังเด็กไม่เคยเป็นหนังทำเงิน และยังเข้าวันเดียวกับภาพยนตร์การ์ตูนนีโม่ ซึ่งทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งทั่วโลกของทุกประเทศ ปรากฏว่าประเทศไทยการ์ตูนเรื่องนีโม่ทำรายได้แพ้แฟนฉัน วันนั้นคิดถึงเรื่องสีแสดเลยครับ ถือเป็นระบบที่อยู่ในใจ และผมจะตอบกับตัวเองทุกครั้งเวลาเราไม่สามารถจะชนะสิ่งต่างๆ เพราะว่าเรายังข้ามกำแพงไม่ได้ แต่กำแพงนั้นก็ไม่ได้สูงไปจนถึงจักรวาลยังไงเราต้องข้ามได้ นี่เป็นสิ่งที่ผมได้รับจากเซนต์คาเบรียลที่ได้เรียนมาตลอด 12 ปีเต็มครับ

ทุกคนจะเข้าใจว่า เด็กเซนต์ฯ จะต้องเก่งภาษาอังกฤษ แต่ยกเว้นผม

การทำงานและมุมมองว่าหนังที่ดีควรเป็นอย่างไร

  ผมเริ่มทำงานจากการทำงานที่สมัยนั้นเรียกกันว่าสไลด์มัลติวิชั่น และฝันว่าวันหนึ่งจะได้ทำหนังไทย แต่ยังไม่มีโอกาสได้เข้าไปทำงานในวงการหนังไทยเลย ในช่วงแรกก็ทำเกี่ยวกับมิวสิกวิดีโอและทำหนังโฆษณา จนผมได้มาทำหนังเรื่องแรกตอนอายุ 40 ปี และพยายามทำออกมาเพื่อเป็นตัวอย่างของคนที่อยากจะทำหนังเป็นอาชีพ ไม่ใช่ทำเป็นงานอดิเรกหรือใจรักเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าทำไม่ได้จริงๆ ก็จะเลิก ปรากฏว่าทำมาจนถึงทุกวันนี้และมันอยู่ได้นะครับ คือผมพยายามทำงานที่ดี แฟนหนังก็ชอบ

สำหรับมุมมองของหนังที่ดี ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนมองมันมากกว่า หนังที่ดีในสายตาของนักวิจารณ์อาจจะคือแปลกใหม่ หนังที่ดีในสายตาของแฟนหนังเขาอาจจะอยากได้ความบันเทิง แต่หนังที่ดีในความรู้สึกของผมคือ หนังที่เราสามารถส่งต่อ สื่อสาร ในสิ่งที่อยากนำเสนอหรือความรู้สึกนึกคิดของเราออกไปได้ ทำให้คนดูรู้เรื่อง เข้าใจ และรู้สึกอะไรบางอย่าง ตรงนี้ผมก็ถือว่าเป็นความสำเร็จแล้ว แต่ถ้ามากไปกว่านั้นก็คือ เวลาคนที่ดูหนังของเราแล้วรู้สึกกับมันจนนำบางฉากบางตอนหรือคำพูดในหนังมาเป็นสรณะในชีวิต ผมถือว่าสิ่งนี้เป็นความสำเร็จในอีกมุมหนึ่งของคนทำหนัง อย่างประโยคที่บอกว่าเชื่อในสิ่งที่เฮ็ด เฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ

สิ่งที่ดีที่สุดคือคำขวัญของโรงเรียน

ผมว่าสิ่งที่ดีที่สุดที่โรงเรียนมอบให้เด็กเซนต์คาเบรียล คือสิ่งที่เป็นคำขวัญของโรงเรียน Labor Omnia Vin Cit การทำงานหนักนำมาซึ่งความสำเร็จ ผมว่าเป็นสัจธรรมของมนุษย์ และนำมาซึ่งบุคคลที่เป็นอันดับต้นๆ ในทำงานของประเทศนี้ ทั้งส่วนราชการและเอกชน ตลอดจนศิลปิน รวมไปถึงศิษย์เก่าอีกมากมาย ผมไม่อยากให้เป็นแค่คำขวัญแต่อยากให้เด็กเซนต์คาเบรียลเป็นคนที่มีความอดทนต่อสู้จริงๆ การที่เราจะตั้งตนให้เป็นคนที่มีความอดทนต่อทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นสิ่งที่เราสร้างได้ ซึ่งโรงเรียนพยายามจะสร้างสิ่งนี้และผมได้รับมาตลอด ผมก็อยากให้น้องๆ เป็นคนที่มีความอดทนในชีวิต และตลอดเวลาที่อยู่เซนต์คาเบรียลครับ เช่น ผมไปโรงเรียนผมเห็นรถจอด 3 เลนส์ เลยรู้สึกว่าความอดทนของน้องรุ่นใหม่ไม่มีเลย น้องๆ ไม่มีความอดทนที่ให้ผู้ปกครองจอดรถไกลๆ แล้วเดินมาโรงเรียนกันเหมือนในสมัยก่อน อยากฝากเรื่องนี้ไว้ครับ